เศรษฐกิจพอเพียงการเลี้ยงแพะนมในสวนยางพารา

การหารายได้เสริมในช่วงอายุที่ “ยางพารา” ก่อนกรีดตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึง 6 ปี ไม่เพียงการปลูกพืชระยะสั้นเท่านั้น แต่การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจอย่าง “แพะ” ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจของเกษตรกรชาวสวนยางในปัจจุบัน เห็นได้จากตัวอย่างความสำเร็จ “อัคระฟาร์ม” แห่งบ้านพรุจำปา ต.เทพกระษัตรี

510819-live-rubber-8

อ.ถลาง จ.ภูเก็ต โดย “อัคระ ธิติถาวร” เจ้าของและประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ฟาร์มเลี้ยงแพะนม)

อัคระ ธิติถาวร ถือเป็นเกษตรกรรายแรกใน จ.ภูเก็ต ที่ริเริ่มเลี้ยงแพะนม และพัฒนาสายพันธุ์จนสามารถสร้างรายได้และพัฒนาเป็นอาชีพได้อย่างมั่นคง โดยยึดหลักการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้คิดปรับปรุงสายพันธุ์แพะนม ที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากแพะพื้นเมืองเพื่อให้ได้แพะพันธุ์ที่โตเร็วเลี้ยงง่าย ให้น้ำนมมาก และทนทานต่อสภาพแวดล้อม จนได้แพะนมพันธุ์ลูกผสม ซึ่งเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรผู้สนใจเป็นอย่างมาก

images (7)

เขาย้อนอดีตให้ฟังว่า หลังเจอวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ก็ได้ลาออกจากอาชีพลูกจ้างเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เดินทางกลับมาบ้านเกิดที่ จ.ภูเก็ต ด้วยจิตสํานึกและความมุ่งมั่นการผลิตอาหารให้ผู้บริโภคโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ใดๆ และใช้หลักความสมดุลของระบบนิเวศ และการดํารงชีวิตแนวเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้เหตุผลที่ตนเองทําได้ มีพื้นที่ ทุน แปลงหญ้า และการพึ่งตนเอง

 

images (8)

 

“เริ่มต้นจากการปลูกพืชหลากหลายชนิด เลี้ยงแพะ เลี้ยงปลา ในพื้นที่ 2 ไร่เศษ และพื้นที่สวนยางของญาติพี่น้อง ของเราจะมีการระบบการจัดการฟาร์มผสมผสานเกื้อกูลกันของพืช สัตว์ ประมง ใช้มูลแพะเป็นปุ๋ยให้แก่พืช และสร้างแหล่งอาหารแพลงตอน ตะไคร่น้ำให้แก่ปลา ใช้น้ำจากบ่อปลารดต้นไม้”

เจ้าของอัคระฟาร์ม เปิดเผยต่อว่า หลังจากการเลี้ยงแพะเนื้อจำนวน 11 ตัว แม่พันธุ์ 10 ตัว และพ่อพันธุ์ 1 ตัว เมื่อปี 2540 จนกระทั่งถึงปี 2546 ก็เปลี่ยนมาเป็นแพะนม ด้วยการค้นหาพ่อพันธุ์แพะนม เนื่องจากมีรายได้ดีกว่า โดยเฟ้นหาพ่อพันธุ์ดี จากนั้นก็มาทดลองปรับปรุงสายพันธุ์ด้วยตนเอง โดยคัดแม่แพะดูจากสุขภาพ การให้ผลผลิต และการผสมพันธุ์ติดง่าย เป้าหมายแม่แพะให้ผลผลิตน้ำนม เฉลี่ย 2-3 ลิตรต่อวัน มีระยะการให้นมสูงสุดนาน และระยะเวลารีดนมยาวกว่า 200 วัน

images (9)

 

“เทคนิคง่ายๆ ก็คือ ให้แม่พันธุ์มีความสมบูรณ์สูงสุดก่อนผสมพันธุ์และให้ไวตามิน AD3E ปรับระบบสืบพันธุ์ เมื่อแม่แพะเป็นสัดรอให้ไข่ตกเต็มที่ ผสมพันธุ์ในวันที่สองของการเป็นสัด พบว่าอัตราการเกิดลูกแฝด 3 กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ให้ลูกแพะอยู่กับแม่ดูดนมแม่จนอายุได้ 2 เดือน ในระหว่างนั้นฝึกระเบียบวินัยแม่และลูกแพะ สร้างความคุ้นเคยกับเจ้าของ การอยู่รวมฝูงก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ หลังจากนั้นจึงแยกแม่แพะมารีดนมอีกประมาณ 6 เดือน”

อัคระย้ำอีกว่า สำหรับการเลี้ยงนั้น ใช้วิธีเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ ใช้พื้นที่สวนยางพาราของชาวบ้านในเครือข่ายประมาณ 200 ไร่ เป็นแหล่งอาหาร ที่สำคัญ เจ้าของสวนยางพาราก็ได้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่ผลิตจากมูลแพะฟรี และยังช่วยกำจัดวัชพืชในสวนยางอีกด้วย ทั้งนี้เป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้แก่เจ้าของสวนยางนั่นเอง

“เราใช้สวนยางเขาเลี้ยงแพะและช่วยดูแลจัดการสวนยางเขาให้ด้วย วินๆ ทั้งสองฝ่าย ส่วนของผมเองมีแค่ 2 ไร่เศษ ก็ทำเป็นสวนเกษตรผสมผสาน มีโรงเรือนแพะ 2 โรง เช้าหลังรีดนมเสร็จก็ปล่อยแพะไปหากินในสวนยาง เย็นก็กลับเข้ามานอน ขี้แพะก็นำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ทุกอย่างมาใช้ประโยชน์ได้หมด ส่วนรายได้ก็มาจากขายลูกแพะ พ่อแม่พันธุ์และน้ำนมแพะบรรจุขวดเป็นหลัก เฉลี่ย 70-80 ตัวต่อปี ส่วนน้ำนมแพะเฉลี่ย 150 ขวดต่อวัน สนในราคาจำหน่ายขวดละ 20 บาท”

ปัจจุบันอัคระฟาร์มแพะจำนวน 50 ตัว แบ่งเป็นแม่พันธุ์ 27 ตัว พ่อพันธุ์ 1 ตัว แพะรุ่น 6 ตัวและแพะเล็ก 16 ตัว มีรายได้จากการจำหน่ายลูกแพะและผลิตภัณฑ์นมแพะประมาณ 4.5-5 หมื่นบาทต่อเดือน นับเป็นอีกทางเลือกที่จะเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางได้เป็นอย่างดี

oahRO

 

การเลี้ยงแพะนม

                   

หน้าแพะ-จริงใจฟร์มแพะ

การเลี้ยงแพะในประเทศไทยของเรามีมายาวนานมาก และกระแสการบริโภคน้ำนมแพะเพื่อสุขภาพก็มาแรงในช่วงหนึ่ง จนมีข่าวที่ไม่สู้จะดีนัก และทำให้การบริโภคน้ำนมแพะลดลง ทั้งนี้เนื่องจากโรคระบาดของแพะที่สามารถติดต่อมาสู่คนได้ เรื่องนี้ต้องหาผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาแพะมาให้ความกระจ่างกันซักหน่อยจะดีกว่า

       อาจารย์ลักษณ์ เพียซ้าย หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม หรือมีชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า ศูนย์แพะ-แกะ ได้ให้รายละเอียดอย่างกระจ่างแจ้งในเรื่องของแพะว่า แพะเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องมี 4 กระเพาะ ประเภทเดียวกับโคและกระบือ แต่ตัวมีขนาดที่เล็กกว่า จึงเรียกว่าสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก (Small Ruminant) และกินหญ้าเป็นหลัก รวมไปถึงไม้พุ่มที่มีขนาดเล็กเกือบทุกชนิด

       แพะมีความผูกพันกับคนเรามาช้านาน โดยเฉพาะชาวมุสลิม โดยชาวบ้านจะเลี้ยงในครัวเรือนประมาณ 5-10 ตัว แต่ในปัจจุบันกระแสการเลี้ยงแพะค่อนข้างจะมาแรง โดยเฉพาะนมแพะ เกษตรกรเริ่มสนใจหันมาเลี้ยงแพะกันมากขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เนื่องจากเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย แพะมีความสามารถในการเปลี่ยนอาหารที่มีเยื่อใย (Fiber) เช่น ใบไม้ หญ้าชนิดต่าง ๆ ให้เป็นโปรตีนในรูปของเนื้อและนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีอายุในการเลี้ยงสั้นคือ เมื่ออายุ 10-12 เดือน ก็สามารถผสมพันธุ์ได้ และใช้เวลาในการอุ้มท้อง 5 เดือน ก็จะให้ลูกได้ และบางครั้งยังให้ลูกแฝดอีกด้วย

       กระแสการดื่มน้ำนมแพะในขณะนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากกลุ่มผู้สนใจดูแลรักษาสุขภาพ จากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่าง ๆ แต่คนไทยยังไม่คุ้นเคยกับการดื่มน้ำนมแพะกันมากนัก นอกจากชาวมุสลิมที่ดื่มน้ำนมแพะกันมานาน โดยมีคำบอกเล่าว่าการดื่มน้ำนมแพะ จะสามารถป้องกันโรคภูมิแพ้ได้ ถ้าเทียบระหว่างน้ำนมแพะกับน้ำนมโค นมทั้ง 2 ชนิดก็มีประโยชน์เหมือนกัน แต่ในน้ำนมแพะจะมีเม็ดไขมันที่มีขนาดเล็กกว่าน้ำนมโค เพราะฉะนั้นไขมันจากน้ำนมแพะจะย่อยได้ง่ายกว่า ร่างกายก็สามารถดูดซึมได้เร็วขึ้น และไม่เกิดอาการของท้องอืด ท้องเสีย หรืออาเจียน นอกจากนี้ในน้ำนมแพะยังมีโปรตีน และกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายค่อนข้างจะมาก มีไวตามินบี แร่ธาตุ แคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณที่ค่อนข้างสูง เหมาะกับทุกเพศทุกวัย แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของกลิ่นในน้ำนมแพะ ซึ่งเป็นกลิ่นเฉพาะตัวเช่นเดียวกับกลิ่นของเนื้อสัตว์ที่มีกลิ่นเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว หรือเนื้อแกะ ซึ่งผู้ที่เริ่มบริโภคน้ำนมแพะ อาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคยในระยะแรก แต่จะรู้สึกว่าเป็นกลิ่นที่ปกติ ถ้าหากเราดื่มทุกวัน ส่วนวิธีการเลือกซื้อนมแพะที่ถูกต้องนั้น จะต้องเลือกน้ำนมแพะที่สุก มีการพาสเจอร์ไรส์ที่อุณหภูมิ 60-70 องศาเซลเซียส และต้องสังเกตสลากวันผลิต วันหมดอายุข้างขวดด้วย

        พันธุ์แพะนม

Lung_song

แพะนมลูกผสมพันธุ์ซาแนน-แองโกลนูเบียน และพันธุ์แองโกลนูเบียน เป็นแพะนมที่สามารถเลี้ยงได้ดีในสภาพพื้นที่ราบ และพื้นที่สูง เนื่องจากสามารถปรับตัวต่อสภาพอากาศร้อนหรือหนาวชื้นได้ดีให้นมประมาณตัวละ1.5 – 2.2 กิโลกรัมต่อวัน นาน 120-150 วัน ให้ลูกปีละ 2 ครอกๆละ 2 – 3 ตัว และมีอายุประมาณ 12-14 ปี                                                  

     การจัดการเลี้ยงดู                                

 images        

  การเลี้ยงแพะนมเพื่อเป็นอาชีพหรือเสริมรายได้ ควรจะมีพื้นที่สำหรับปลูกพืช อาหารสัตว์ให้แพะกิน ถ้าเป็น พื้นที่ราบ และอยู่ในเขตชลประทาน ประมาณ 1 ไร่/ตัวถ้าอยู่นอกเขตชลประทานหรือพื้นที่สูง ควรมีพื้นที่ประมาณ 2-4 ไร่/ตัว(ในกรณีเลี้ยงขังคอกแล้วตัดหญ้าให้กิน) แพะมักจะเลือกกินอาหารเอง เช่นใบไม้ ต้นกระถิน ต้นไมยราพยักษ์ และต้องเสริมอาหารข้น,แร่ธาตุ พร้อมทั้งน้ำกินที่สะอาดอย่างเพียงพอ ควรมีโรงเรือนที่ยกระดับจากพื้น เนื่องจากแพะชอบความสะอาด และอากาศถ่ายเท มีการตรวจโรคที่สำคัญและฉีดวัคซีนป้องกันโรคประจำ อีกทั้งควรถ่ายพยาธิอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แพะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

*ทำเลที่จะทำการเลี้ยงแพะนม

1.เส้นทางคมนาคมสะดวก

2.มีแหล่งน้ำสะอาดเพียงพอ ตลอดเวลา

3.เป็นพื้นที่ดอน น้ำถ่วมไม่ถึง

4.ไม่เคยเป็นโรคระบาดมาก่อน

5.พื้นที่โปร่งใส่ระบายอากาศได้ดี

6.มีพื้นที่ปลูกหญ้าเพียงพอ

*พื้นที่เพียงพอให้แพะได้เดินกินหญ้า

images (3)

*โรคของแพะนม 

โรคแท้งติดต่อนี้ก็มีวัคซีนที่สามารถป้องกันได้เช่นกัน หรือตรวจสอบการติดเชื้อได้ โดยการเจาะเลือดแพะไปตรวจหาเชื้อ หลังการตรวจสอบถ้าพบว่า แพะตัวใดมีเชื้อโคแท้งติดต่อก็จะต้องทำลายทิ้ง เพราะฉะนั้นแพะตัวที่ไม่ได้ทำการฉีดวัคซีน จะต้องมีการเจาะเลือด เพื่อตรวจหาเชื้อด้วยทุกตัว

*การรีดนมแพะ

images (2)                                                         

    mytrip_12

การรีดน้ำนมแพะ จะรีดวันละ 1 ครั้งใน ช่วงเช้า ช่วงเวลาเช้าแพะจะผลิตน้ำนมและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ถ้ารีดช้าเกินไป ก็จะทำให้เกิดเต้านมเอกเสบ

*ราคา น้ำนมแพะในปัจจุบันราคาสูงถึง 70 บาท/ก.ก

*ผลิตภัณฑ์จากน้ำนมแพะ

 – สบู่จากน้ำนมแพะ

qh    

น้ำนมแพะ

images (4)

ประโยชน์ของน้ำนมแพะ นมแพะทุกหยดลดภูมิแพ้ เรื่องของนมแพะกับโรคภูมิแพ้มักจะเป็นเรื่องที่พูดถึงกันอยู่เสมอ การดื่มนมแพะเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้โรคภูมิแพ้บรรเทาลงและหายในที่สุด เป็นคำยืนยันของคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่หันมาบริโภคนมแพะเป็นประจำแทนการกินยา

อางอิง

http://www.ku.ac.th/e-magazine/nov48/agri/capra.htm